วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


ความหมายสิ่งแวดล้อม 
รูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏสิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
·         สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร
·
     
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 
มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้
กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
·         ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
·         หาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
·         ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย



วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กรุงเทพจมน้ำจริงหรือ นวนิยาย

        

  




     ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติเตือนไม่เกิน 10 ปี กรุงเทพฯ-ปริมณฑลจมน้ำ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ชี้ชัด ปริมาณน้ำฝนทะลักเท่าตัว แถมน้ำทะเลจ่อท่วมเมืองหลวง ประเมินความเสียหายนับแสนล้าน กทม.ยอมรับห่วง เร่งสร้างแก้มลิงรับน้ำ   ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าฝนจะตกเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือน้ำฝนมีปริมาณไม่มากนักก็ตาม ล่าสุดนักวิชาการไทยได้นำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาคำนวณเปรียบเทียบกับข้อมูลน้ำท่วม

อันตรายมาถึงเเล้ว!






 

จากการที่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนกกับภาวะโลกร้อน และมองเห็นถึงภยันตรายจากเรื่องนี้ สหรัฐอเมริกาและประเทศในทวีปยุโรป รวมทั้งประเทศในทวีปเอเชียต่างพากันหาแนวทางป้องกันภัยเรื่องนี้ ประเทศไทยเองก็เริ่มมีความตื่นตัว โดยเฉพาะสภาวะโลกร้อนที่ทำให้ปริมาณน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้กรุงเทพมหานครและเมืองชายทะเลกลายเป็นเมืองใต้บาดาลได้ ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ นักวิชาการได้เริ่มจัดเสวนาเพื่อถกถึงแนวทางป้องกัน   ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่อาคาร 9 อิมแพค เมืองทองธานี กลุ่มกรุงเทพ 50 ได้จัดสัมมนาหัวข้อ กรุงเทพฯจะจมน้ำจริงหรือ ขอเชิญมาหาทางออกร่วมกันโดยมีนายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ นายเสรี สุพราทิพย์ ผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมบรรยาย นายสมิทธกล่าวว่า ได้รับข้อมูลจากกรมแผนที่ทหารบกว่า กรุงเทพมหานครมีอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง 10 ปีที่ผ่านมา ทรุดตัวไปแล้วถึง 1 เมตร โดยเฉพาะพื้นที่เขตบางกะปิ รามคำแหง เพราะสภาพพื้นดินถูกสูบขึ้นมาเป็นน้ำบาดาล และยังมีการทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง 3-5 ซม.ต่อปี ผนวกกับปัญหาโลกร้อน ที่ประเทศมหาอำนาจหลายประเทศปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเป็นจำนวนมาก ขณะนี้ผู้นำประเทศทั่วโลกได้ตระหนักถึงผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว และมีการประชุมกันเป็นระยะๆ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำการวิจัยซึ่งมีความหนามากกว่า 1,400 หน้ากระดาษ และได้ติดตามข้อมูลทุกระยะ พบว่าภายใน 8 ปี ผืนดินใน กทม.จะทรุดตัว 1.5-2 เมตร