เหตุการณ์สำคัญ






  

น้ำแข็งละลายในขั้วโลกและน้ำทะเลสูงขึ้นในยุคธารน้ำแข็งโลกถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งประมาณร้อยละ 32 ซึ่งในปัจจุบันธารน้ำแข็งบนโลกนั้นเหลือเพียงร้อยละ 10 ถ้าหากธารน้ำแข็งทั้งหมดนี้ละลายจะส่งผลให้ระดับของน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 270 ฟุต หรือ 70 เมตร การเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มหรือลดจำนวนของธารน้ำแข็งจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ และเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ในปัจจุบันธารน้ำจำนวนมากลดจำนวนลงโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น   ตัวอย่างเหตุการณ์ธารน้ำแข็งละลายที่เกิดจาภาวะโลกร้อน
     ในปี ค.ศ. 2003 ดาวเทียมเทอรา ขององค์การนาซ่า ตรวจพบว่า น้ำแข็งบริเวณอาร์ติกเซอร์เคิล ของขั้วโลกเหนือได้ละลายไปจำนวนมาก
     ในปี ค.ศ. 2004 นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งพบว่า อุณหภูมิของโลกนั้นเพิ่มขึ้น 1 องศาฟาเรนไฮต์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 และบริเวณอาร์กติก อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 4-7 องศาฟาเรนไฮต์ ส่งผลจำนวนหมีขั้วโลก
        ลดลงประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์
     ในปี ค.ศ. 2005 นิตยสาร journal Science ฉบับวันที่ 22 เมษายน ค.ศ.2005 เปิดเผยว่า ธารน้ำแข็งบริเวณ อาร์กติกได้ละลาย จำนวนร้อยละ 84 ในเวลา 50 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสาเหตุอุณหภูมิสูงขึ้น
     ในปี ค.ศ. 2002 แผ่นน้ำแข็งลาร์เซน บีได้แตกออกมาเป็นภูเขาน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และในปี ค.ศ. 2005 แผ่นน้ำแข็งแผ่นนี้ก็ได้แตกออกมาอีกครั้ง ส่วนที่แตกออกมาได้กลายเป็นภูเขาน้ำแข็งที่เรียกว่า         A-53

ความแปรปรวนของโลกเกิดจากภาวะโลกร้อน  หลายปีที่ผ่านมา ธรรมชาติได้ส่งสัญญาณเตือนถึงมหันตภัยภัยที่จะเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า จากปรากฏการณ์เรือนกระจก ก๊าซเรือนกระจก ที่ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือ Climate Change แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ใส่ใจถึงหายนภัยที่กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้ตัว และพร้อมจะคุกคามโลก ขนาดเกิดกรณี น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายและจะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น รวมถึงปรากฏการณ์อื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อความสมดุลทางธรรมชาติ หลายคนยังฟังเพียงผ่านๆ และคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ยิ่งนานวันผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจากสภาวะโลกร้อน ก็ยิ่งพ่นพิษรุนแรง และลุกลามเพิ่มขึ้น แม้จะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น เกิดสภาวะ เย็นจัดผิดปกติ น้ำท่วมมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เกิดไฟป่าบ่อยขึ้น ความแห้งแล้งยาวนานขึ้น ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูใบไม้ผลิมาถึงเร็วขึ้น ฤดูใบไม้ร่วงมาถึงช้าลง ต้นไม้ออกดอกเร็วขึ้น โรคภัยไข้เจ็บลุกลาม ปะการังฟอกขาว การทับถมของหิมะลดลง สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกหายไป พืชและสัตว์ต่างถิ่นรุกราน แนวชายฝั่งสึกกร่อน ป่าในเขตภูเขาสูงแห้งแล้ง ฯลฯ ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จากภัยทางธรรมชาติเหล่านี้เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า และทุกครั้งก็เหมือนจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ การยืนยัน และตอกย้ำชัดเจนจนไม่อาจปฏิเสธได้แล้วว่า วิกฤตการณ์โลกร้อน....เปิดฉากคุกคามมนุษยชาติอย่างหฤโหด! และวันนี้ภัยธรรมชาติ กลายเป็นภัยใกล้ตัวของสังคมโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้